สาระสำคัญ

การเข้าใจในโครงสร้างและสาระสำคัญในพระไตรปิฏก ปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ทำให้เห็นคุณค่า และนำไปพัฒนาแก้ปัญหาของชุมชนและสังคมเพื่อให้อยู่ร่วมกันในกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างมีความสุข

1.พระไตรปิฎก

2.พระรัตนตรัย

3.ธรรมคุณ 6

4.อริยสัจ 4

ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้)

ขันธ์ 5

อายตนะ

สมุทัย (ธรรมที่ควรละเว้น)

หลักกรรม

อกุศลกรรมบถ 10

อบายมุข 6

นิโรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ)

สุข 2

มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ)

บุพพนิมิตของมัชฌิมาปฏิปทา

ดรุณธรรม 6

กุลจิรัฏฐิติธรรม 4

กุศลกรรมบถ 10

สติปัฏฐาน 4

มงคล 38

มงคล 38 หมายถึง ธรรมที่นำมาซึ่งความสุขความเจริญ มี 38 ประการ ในชั้นเรียนนี้นักเรียนจะได้ศึกษาหลักธรรมที่เป็นมงคล 3 ประการ ดังนี้

1. ประพฤติธรรม (มงคลข้อ 16) คือ การดำรงอยู่ในศีล ประพฤติปฏิบัติตนถูกต้องดีงาม ตามหลักของกุศลกรรมบถ 10 เพื่อให้ได้รับผลอันเป็นมงคลแก่ชีวิต นั่นคือ ความสุขความเจริญ

2. เว้นจากความชั่ว (มงคลข้อ 19) คือ การละเว้นจากการประพฤติปฏิบัติชั่วทั้งปวง ตามหลักของอกุศลกรรมบถ 10 ให้มีความบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และใจ เพื่อเป็นมงคลแก่ชีวิต

3. เว้นจากการดื่มน้ำเมา (มงคลข้อ 20) คือ การดื่มน้ำเมาและเสพสารเสพติดทั้งหลายเป็นอบายมุขประการหนึ่งที่จะนำไปสู่ความเสื่อม เป็นหนทางที่จะนำความเดือดร้อนมาให้ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น การละเว้นจากสิ่งเหล่านี้ได้ถือเป็นมงคลอันประเสริฐที่ควรปฏิบัติ