สาระสำคัญ

การเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยนั้นจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ รักษาสิทธิ เสรีภาพของตน มีคุณธรรม จริยธรรม มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง และสนับสนุนให้ผู้อื่นประพฤติตนเป็นพลเมืองที่ดี เพื่อความเจริญก้าวหน้าและความสงบสุขของตนเอง สังคม และประเทศชาติ

1.พลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย

วิดีโอที่ 1

1.โฆษณา ประชาธิปไตย.mp4

1) จากการดูวิดีโอ ในความเข้าใจของนักเรียน การปกครองระบอบประชาธิปไตยคืออะไร

เป็นการปกครองที่มีรัฐบาลมาจากเสียงข้างมากของประชาชน, เป็นการปกครองที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน, เป็นปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน

2) นักเรียนคิดว่าวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยควรมีลักษณะอย่างไร

เป็นวิถีชีวิตที่ปฏิบัติตามเสียงข้างมากในสังคมอย่างมีเหตุผล และเคารพในสิทธิเสรีภาพซึ่งกันและกัน ยึดมั่นในความถูกต้อง มีระเบียบวินัย และเคารพกฎหมาย

วิดีโอที่ 2

2.การปกครองระบอบประชาธิปไตย.mp4

1) นักเรียนคิดว่าประชาธิปไตย คืออะไร

ประชาธิปไตย คือ การปกครองโดยประชาชน

2) นักเรียนคิดว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยต้องยึดหลักการที่สำคัญอะไรบ้าง

ต้องยึดหลักของความเสมอภาค เสรีภาพ และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน และอำนาจอธิปไตยต้องมาจากประชาชน

วิดีโอที่ 3

3.วิถีชีวิตประชาธิไตย.mp4

นักเรียนคิดว่าวิถีประชาธิปไตย คืออะไร

แนวทางการดำรงชีวิตประจำวันและการดำรงตนในสังคมของประชาชนที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย

วิดีโอที่ 4

4.พลเมืองดี (โฆษณาไทยประกันชีวิจ).mp4

1) จากวิดีโอที่นักเรียนดู นักเรียนคิดว่าพลเมืองดี ควรมีลักษณะอย่างไร

ผู้ที่คิดดี พูดดี และทำดี

2) หลังจากดูวิดีโอเสร็จ ให้นักเรียนทำใบงาน เรื่อง พลเมืองดีของสังคม โดยให้นักเรียนตั้งชื่อเรื่องในวิดีโอตามความคิดของตนเองอย่างสร้างสรรค์ และเขียนพฤติกรรมของบุคคลจากวิดีโอที่แสดงถึงการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี และคุณค่าที่เกิดจากการกระทำของบุคคลในวิดีโอที่ส่งผลต่อตนเองและสังคม

เรื่องที่ 2 การเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกที่ดี

จากวิดีโอที่นักเรียนดู นักเรียนคิดว่าบุคคลในคลิปทำไมจึงหาของเจอจนประสบความสำเร็จ

เพราะบุคคลในคลิป เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี คือ ผู้นำกลุ่ม มีวิธีการวางแผนที่ดี บอกทิศทางการเดิน ที่ชัดเจน ผู้ตาม ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้นำอย่างเคร่งครัด

“การอยู่ร่วมกันในสังคม ในบางโอกาสเราอาจมีสถานะเป็นผู้นำ หรือผู้ตาม การที่เราเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ย่อมทำให้สังคมมีความสงบสุข"

คุณลักษณะผู้นำและผู้ตามที่ดี

ความหมายของผู้นำ

ผู้นำ หมายถึง บุคคลซึ่งนำกลุ่มหรือพากลุ่มไปสู่วัตถุประสงค์หรือจุดหมายที่วางไว้ แม้แต่เพียงชี้แนะให้กลุ่มไปสู่จุดหมายปลายทางก็ถือว่าเป็นผู้นำ

คุณสมบัติของผู้นำที่ดี

ผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ

1. มีความรู้ (Knowledge)

2. มีความคิดริเริ่ม (Initiative)

3. มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด (Courage and firmness)

4. การมีมนุษยสัมพันธ์ (Human relation)

5. มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต (Fairness and Honesty)

6. มีความอดทน (Patience)

7. มีความตื่นตัว (Alertness)

8. มีความภักดี (Loyalty)

9. มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว (Modesty)

ความหมายของผู้ตาม

ผู้ตาม หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานในองค์การที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องรับ คำสั่ง จากผู้บังคับบัญชามาปฏิบัติให้สำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์

ลักษณะผู้ตามที่มีประสิทธิผล ดังนี้

1. มีความสามรถในการบริหารจัดการตนเองได้ดี

2. มีความผูกพันต่อองค์การต่อวัตถุประสงค์

3. ทำงานเต็มศักยภาพ และสุดความสามารถ

4. มีความกล้าหาญ ซื่อสัตย์ และน่าเชื่อถือ

ภาระงาน : อัดคลิปวิดีโอ เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตนในสถานการณ์โควิด 19 10 คะแนน

รายละเอียดของงาน

1. คลิปวิดีโอมีความยาวไม่เกิน 10 นาที 2 คะแนน

2.ในคลิปวิดีโอต้องมีนักเรียนพูดอธิบาย หรือพูดบรรยายรายละเอียด 2 คะแนน

3.ในคลิปวิดีโอนักเรียนมีการแสดงออกถึงการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีโดยการสวมหน้ากากอนามัย 2 คะแนน

4. ในคลิปวิดีโอของนักเรียนต้องมีการพูดถึงแนวทางการปฏิบัติตนในสถานการณโควิด 19 2 คะแนน

5. คลิปวิดีโอมีความสร้างสรรค์ 2 คะแนน

6. การส่งงาน ครูจะไปสร้างโพสต์ในกลุ่มเฟสบุ๊กรายวิชาหน้าที่พลเมืองว่า "ส่งงานผู้นำและผู้ตามที่ดี ม.5/....." ให้นักเรียนคอมเม้นต์ชื่อ-นามสกุล เลขที่ ใต้โพสต์พร้อมอัปโหลดคลิปวิดีโอของนักเรียน

เรื่องที่ 3 การใช้สิทธิ เสรีภาพ และทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ

1) นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคำคมที่ว่า “คนที่ปฎิเสธเสรีภาพของคนอื่น ย่อมไม่คู่ควรกับการมีเสรีภาพของตนเอง”อย่างไร

ทุกคนมีอิสรภาพของความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ,ทุกคนมีเสรีภาพ แต่เสรีภาพของเรา ต้องไม่ละเมิดเสรีภาพของคนอื่น, ใครที่ไม่ยินยอมมอบอิสรภาพให้แก่คนอื่น ไม่สมควรจะมีอิสรภาพเช่นกัน หรือถึงมี ก็มีได้ไม่นาน

2) เสรีภาพในคำคมหมายถึงอะไร

เสรีภาพ หมายถึง อำนาจตัดสินใจด้วยตนเองของมนุษย์ที่จะเลือกดำเนินพฤติกรรมของตนเอง โดยไม่มีบุคคลอื่นใดอ้างหรือใช้อำนาจแทรกแซงเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจนั้น และเป็นการตัดสินใจด้วยตนเองที่จะกระทำหรือไม่กระทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย

วิดีโอ เรื่อง ความหมายของสิทธิ หน้าที่ และเสรีภาพ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560

เรื่อง สิทธิ หน้าที่ และเสรีภาพ (หน้า 7-13)

เอกสารรัฐธรรมนูญ-2560 (11-17).pdf

1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ให้สิทธิและเสรีภาพอะไรบ้างแก่ประชาชน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชน ดังต่อไปนี้

1) สิทธิและเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน

2) สิทธิที่จะได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือจากรัฐกรณีถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ

3) สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย

4) เสรีภาพในการนับถือศาสนาและเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน

5) สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว

6) เสรีภาพในเคหสถาน

7) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น

8) เสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ

9) เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร

10) สิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก

11) เสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่

12) เสรีภาพในการประกอบอาชีพ

13) สิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ

14) สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐและได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว

15) สิทธิฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำของข้าราชการพนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ

16) เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชนหรือหมู่คณะอื่น

17) สิทธิอนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอันดีงามทั้งของท้องถิ่นและของชาติ

18) สิทธิจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ

19) สิทธิเข้าชื่อเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐให้ดำเนินการใดอันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือชุมชน

20) เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ

21) เสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมือง

22) สิทธิของผู้บริโภค

23) สิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ

2) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กำหนดหน้าที่ของปวงชนชาวไทยที่จะต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้

1) พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2) ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย

3) ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

4) เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับ

5) รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ

6) เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่กระทำการใดที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเกลียดชังในสังคม

7) ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสำคัญ

8) ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม

9) เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ

10) ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ

ภาระงาน : ให้นักเรียนวาดภาพการปฏิบัติตนของตนที่แสดงถึงการใช้สิทธิ เสรีภาพ และทำหน้าที่ตามความรับผิดชอบ (เลือกมา 1 เรื่อง) พร้อมทั้งเขียนอธิบายว่า เป็นสิทธิ เสรีภาพ หรือหน้าที่ใด และบอกว่าตนเองปฏิบัติอย่างไร

เรื่องที่ 4 ความกล้าหาญทางจริยธรรม

วิดีโอ เรื่อง “HAT HEROES”

CLEAR x MAIYARAP - HAT HEROES.mp4

1) บุคคลในวิดีโอประกอบอาชีพใดบ้าง

ทหาร อาสากู้ภัย พยาบาล ชาวนา วินมอเตอร์ไซต์ อาสาสมัครดับเพลิง นักแสดงโขน

2) ทำไมแต่ละบุคคลในวิดีโอจึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “ฮีโร่หมวก”

เพราะพวกเขามีคุณธรรมและจริยธรรม กล่าวคือ ทหาร ช่วยปกป้องคนในประเทศให้มีความปลอดภัย, อาสากู้ภัย ช่วยเหลือชีวิตของผู้ประสบภัยต่างๆ, พยาบาล ช่วยเหลือชีวิต ดูแลคนไข้ให้ปลอดภัย, ชาวนา ทำนาโดยไม่ใช้สารเคมี ทำให้ผู้บริโภคไม่เกิดอันตราย, วินมอเตอร์ไซต์ เป็นพลเมืองดี ช่วยตำรวจจับโจร, อาสาสมัครดับเพลิง ช่วยชีวิตคนและสัตว์ที่ติดอยู่ขณะไฟไหม้ และดับไฟ เพื่อรักษาทรัพย์สินของผู้ประสบเหตุ, นักแสดงโขน ช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในต่างแดน

ข่าว ชื่นชม “น้องแบม” ต้นแบบขอนแก่นโมเดล แฉโกงเงินสงเคราะห์

ข่าว น้องแบม.pdf

จากข่าวข้างต้น น้องแบมมีความกล้าหาญทางจริยธรรมอย่างไร

น้องแบมมีความกล้าหาญทางจริยธรรม คือ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง โดยเปิดเผยข้อมูลการโกงเงินสงเคราะห์

เรื่องที่ 5 ปัญหาสังคม

ข่าวเด็กแว้น.mp4

1) จากตัวอย่างในวิดีโอ ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาสังคม หรือไม่ อย่างไร

เป็น เพราะสร้างความเดือดร้อนต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมจำนวนมาก

2) นักเรียนคิดว่าบุคคลใดบ้างที่ควรมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา เพราะเหตุใด

ตำรวจ เพราะมีหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อความสงบสุขในสังคม

ความหมายของปัญหาสังคม

ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ และประชาชนมองเห็นว่าสภาวะการณ์นั้นเป็นสิ่งไม่ต้องการให้เกิดขึ้นและเห็นว่าสามารถจะแก้ไขได้ด้วยการกระทําร่วมกัน

ลักษณะปัญหาสังคม

1.เป็นสภาวการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนเป็นจํานวนมาก

2.เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่พิจารณาว่าเป็นสภาวะการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา

3.ปัญหาสังคม จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อค่านิยมหรือการตีความในแบบแผนพฤติกรรมแตกต่างกันไป

4.ปัญหาสังคมย่อมผันแปร “ไปตามกาลเวลา”

5.ปัญหาสังคมย่อมมีผลมาจากนโยบายของรัฐหรือจากพฤติกรรมที่มิได้คาดคิดล่วงหน้าไว้ก่อน

6.บุคคลมีชนชั้นทางสังคมที่แตกต่างกัน ย่อมมีความคิดเห็นต่อการแก้ปัญหาสังคมที่แตกต่างกัน ทุกคนยอมรับการแก้ปัญหาสังคมที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเองมากที่สุด

สาเหตุของปัญหาสังคม

1.เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม การเปลี่ยนค่านิยมใหม่ ๆ ทําให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น

2.ความไม่เป็นระเบียบของสังคม เกิดความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความ มุ่งหมาย เกิดความล้มเหลวของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม หรือสมาชิกบางกลุ่มสร้างความเดือดร้อนให้แก่สังคม ทําให้เกิดการขาดระเบียบและเป็นปัญหาทางสังคมขึ้น

3.พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคม เป็นพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับและไม่อาจทนได้ สังคมเห็นว่าเป็นความรับผิดชอบของสังคมและมีผล กระทบต่อสังคมโดยส่วนร่วม เช่น ผู้ที่เสพยาเสพติดให้โทษ

ตัวอย่างของปัญหาสังคมไทย

1.ปัญหาความยากจน

2.ปัญหายาเสพติด

3.ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น

4.ปัญหาโรคเอดส์

5.ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศเป็นพิษ น้ำเน่าเสีย

6.ปัญหาอาชญากรรม

7.ปัญหาการว่างงาน

8.ปัญหาเด็กเร่ร่อน

9.ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

10.ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ

11.ปัญหาการค้ามนุษย์

12.ปัญหาการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19

13.ปัญหาการกลั่นแกล้ง (Bully)

ปัญหาการกลั่นแกล้ง (Bully)

การกลั่นแกล้ง (Bully) เป็นคำที่มักได้ยินมากขึ้นในสังคมไทย หรือได้

เห็นจากข่าวที่มีการกลั่นแกล้งกันของเด็กชั้นประถมที่จบลงด้วย

โศกนาฏกรรมที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น โดยพฤติกรรมเหล่านี้มักจะ

เกิดขึ้นในโรงเรียน จากสถิติของกรมสุขภาพจิตพบว่า พฤติกรรมการ

กลั่นแกล้งรังแกกัน หรือบูลลี่ (Bully) ของเด็กไทยติดอันดับ 2 ของโลก

รองจากประเทศญี่ปุ่น และจากการสำรวจพบว่า เด็กกว่า 91 % เคยถูก

บูลลี่ และอีก 43 % คิดจะตอบโต้เอาคืน เสี่ยงที่จะนำไปสู่ผลกระทบที่

รุนแรงขึ้น

ประเภทของการบูลลี่

การบูลลี่สามารถแบ่งประเภทออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1.การใช้กำลัง หรือการทำร้ายร่างกาย เช่น การตบ ตี ชกต่อย การข่มขู่

ทำลายข้าวของให้เสียหาย

2. การใช้คำพูด เป็นการพูดทำร้ายความรู้สึก เช่น การพูดจาข่มขู่

วิพากษ์วิจารณ์ ล้อเลียน เยาะเย้ย เป็นต้น

3.การบูลลี่ทางสังคม ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจ เช่น กดดันให้

ออกจากกลุ่ม กีดกันไม่ให้ใครเข้าใกล้ หรือไม่ให้อยู่ในกลุ่มเพื่อน

4.การบูลลี่ทางโลกออนไลน์ (Cyber Bullying) เป็นการกลั่นแกล้งใน

วงกว้างที่รุนแรงมากกว่าในรั้วโรงเรียน หรือในกลุ่มเพื่อน

ผลกระทบจากการบูลลี่

ผลกระทบของการกลั่นแกล้ง คือ ผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งนั้นจะมีผลต่อสภาพ

จิตใจจนอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า ประสิทธิภาพการเรียนลดน้อยลง

สูญเสียความมั่นใจ ชีวิตไม่มีความสุข และอาจนำพาไปถึงการฆ่าตัว

ตาย นอกจากนี้การกลั่นแกล้ง หรือการบูลลี่ไม่เพียงแต่จะกระทบกับ

สภาพจิตใจของผู้ที่ถูกแกล้งเท่านั้น แต่พฤติกรรมดังกล่าวยังส่งผลต่อ

ผู้ที่กลั่นแกล้งด้วย เช่น เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่จะใช้สารเสพ

ติด มีพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง และอาจร้ายแรงถึงขั้นอาจก่อเหตุ

อาชญากรรมขึ้นได้ในอนาคต

นักเรียนมีวิธีการแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งอย่างไร ?

วิธีการแก้ไขปัญหา

1.เมื่อรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกบูลลี่ ให้ตั้งสติ แล้วสำรวจตัวเอง (ถ้าทำผิด

ก็กล่าวคำขอโทษ)

2.ไม่ตอบโต้ ใช้ความนิ่งเข้าสู้ ธรรมชาติของคนที่ชอบกลั่นแกล้ง

ต้องการเห็นเหยื่อมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่ตัวเองทำลงไป การใช้

ความนิ่งเข้าสู้ก็อาจจะทำให้เขารู้สึกว่าทำไม่ได้อย่างที่หวัง จนเบื่อแล้ว

ถอดใจเลิกแกล้งไปในที่สุด

3.พยายามทำความเข้าใจฝ่ายที่ชอบกลั่นแกล้ง ลองให้ความเห็นใจต่อ

ผู้ที่กลั่นแกล้งด้วย เนื่องจากว่าผู้ที่ชอบกลั่นแกล้งผู้อื่นอาจจะมีปมด้อย

หรือปัญหาทางใจของตัวเองอยู่ แล้วไม่รู้วิธีที่จะจัดการกับปัญหานั้น

จนมาระบายลงกับผู้อื่นก็เป็นได้

4.ลองเปิดใจคุย ถึงสาเหตุว่าอะไรที่ทำให้ต้องมากลั่นแกล้งกัน บอกว่า

ไม่ชอบพฤติกรรมที่เขาปฏิบัติต่อเรา โดยต้องกล้าแสดงความไม่พอใจ

ที่มีต่อการกระทำของเขาให้เจ้าตัวรับรู้ และต้องพยายามสื่อสารอย่าง

จริงใจด้วยคำพูดที่สุภาพ

5.อย่าไปใส่ใจกับการกระทำของคนแบบนั้น ควรไปให้ความสำคัญกับ

คนที่รักเราและคอยสนับสนุนเรามากกว่า

6.ปรึกษาครอบครัว ครูอาจารย์ ไม่ควรเก็บปัญหาไว้กับตัวเองคนเดียว

หรือเพิกเฉยต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การกล้าที่จะบอกปัญหาของตน

กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครูอาจารย์ เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะได้

ช่วยกันรับมือและหาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกันได้อย่างตรงจุด

7. การมองเห็นคุณค่าในตัวเอง ว่าการเป็นตัวของตัวเองโดยที่ไม่ทำให้

ใครเดือดร้อนมันก็เป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นควรยอมรับในตัวตนของตนเอง

ภาระงาน : ให้นักเรียนจับกลุ่ม กลุ่มละ 4 คนศึกษาปัญหาสังคมกลุ่มละ 1 ปัญหา ตามความสนใจ หลังจากนั้นทำแผนผังความคิดสรุปครอบคลุม 3 ประเด็น ดังนี้

1) สภาพปัญหา

2) สาเหตุของปัญหา

3) แนวทางในการแก้ไขปัญหา

โดยต้องมีภาพประกอบที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสังคมที่กลุ่มนักเรียนเลือกด้วย

เรื่องที่ 6 การมีส่วนร่วมทางการเมือง

บทกลอนประชาธิปไตย.pdf

1) นักเรียนคิดว่าการมีส่วนร่วมในการเมืองการปกครองมีความสำคัญอย่างไร

มีความสำคัญเพราะการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นหัวใจสำคัญในระบอบประชาธิปไตย คือ เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน

2) นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างไรได้บ้าง

ติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของนักการเมือง การวิพากษ์วิจารณ์นโยบายสาธารณะ การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธฯ การรณรงค์การเลือกตั้ง การส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนโดยการเลือกหัวหน้าห้อง เลือกประธานนักเรียน เลือกประธานคณะสี

การวิพากษ์นโยบายสาธารณะ

นโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลหรือ หน่วยงานของรัฐตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทําภายใต้อํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบโดยกําหนดเป็นหลักการ แผนงานหรือโครงการเพื่อก่อประโยชน์แก่สังคมและส่วนรวม

การวิพากษ์ หมายถึง การเผยแพร่ข้อมูลทุกด้าน ทั้งด้านบวกและด้านลบ ประกอบตามความคิดเห็น ซึ่งข้อเสนอแนะนี้จะเป็นความคิดสร้างสรรค์

ดังนั้น การวิพากษ์นโยบายสาธารณะ คือ การเผยแพร่ข้อมูลทุกด้าน ทั้งด้านบวกและด้านลบประกอบตามความคิดเห็นเกี่ยวกับนวทางหรือกิจกรรมต่างๆที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐตัดสินใจกระทำหรือไม่กระทำ

ภาระงาน : ให้ักเรียนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ โดยเลือกจากหัวข้อดังต่อไปนี้

"นโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ"

"โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า"

"โครงการคนละครึ่ง"

"มาตรการล็อกดาวน์-เคอร์ฟิว คุมเข้มโควิด-19"

เรื่องที่ 7 การรู้เท่าทันสื่อ ข่าวสาร และกาคาดการณ์โดยใช้ข้อมูล

การรู้เท่าทันสื่อ.pdf

การคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าบนพื้นฐานข้อมูล

สามารถปฏิบัติได้ตามแนวทาง ดังนี้

1. ใฝ่หาความรู้ ศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน และติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้แหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เพราะผู้ที่มีขอบเขตความรู้อย่าง กว้างขวาง ย่อมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์และความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้เป็นอย่างดี

2. วิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีเหตุผล โดยนำข้อมูลที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้ รวบรวมมาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับบริบททางสังคมในอดีต ปัจจุบัน เพื่อให้เห็นแนวโน้มของอนาคต

3. ใช้อดีตให้เป็นประโยชน์ต่ออนาคต นำบทเรียนที่ได้รับจากเหตุการณ์ต่างๆในอดีตมาปรับใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นซ้ำอีก หรือเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์นั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

กรุงเทพโพลล์ "มุมมองประชาชนต่อความท้าทายที่รัฐบาลใหม่ต้องเผชิญ"

1.สื่อที่นักเรียนอ่านนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด

มุมมองประชาชนต่อความท้าทายที่รัฐบาลใหม่ต้องเผชิญ

2.จากการสำรวจความคิดเห็นประชาชน ประชาชนมีความคิดเห็นต่อรัฐบาลใหม่จากการผสมกันว่า 19 พรรคการเมืองอย่างไร

ประชาชน 65.6% มองว่ารัฐบาลใหม่มีเสถียรภาพน้อยถึงน้อยที่สุด

3.ประชาชนคาดการณ์ว่าการเข้ามาเป็นรัฐบาลใหม่ รัฐบาลต้องเผชิญกัความท้าทายด้านเสถียรภาพทางการเมืองอะไรบ้าง

ความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาล การจัดสรรตำแหน่ง โควต้ารัฐมนตรี, กระแสข่าวโจมตีรัฐบาล, จำนวนเสียงที่ใกล้เคียงกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน, ความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ, การชุมนุมประท้วง

4.นโยบายที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลสานต่อจากเดิมที่ค้างไว้มากที่สุดคืออะไร

ช่วยเหลือผู้ยากจน ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม

5.นโยบายหาเสียงของรัฐบาลที่ประชาชนอยากให้รัฐบาลรีบดำเนินการมากที่สุดคืออะไร

เพิ่มรายได้ประเทศ เพิ่มรายได้ประชาชน